สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น





อบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อ “หลักการจัดการสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ
เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อม”
ณ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จ.นครพนม นำโดย ศ.ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ
สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข. เป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัย ครั้งที่ 1


เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 กลุ่มวิจัยการจัดการอินทรียวัตถุของดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อ “หลักการจัดการสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรที่เสื่อมโทรมและรักษาสิ่งแวดล้อม” ณ คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม จ.นครพนม นำโดย ศ.ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข. เป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัย, รศ.ดร.พัชรี แสนจันทร์ และ อ.ดร. พฤกษา หล้าวงษา นักวิจัยสาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข., และ ดร.สมชาย บุตรนันท์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก สาขาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มข.,               
          ผศ.ดร. เสาวคนธ์ เหมวงษ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครพนมและ อ.ดร.เบ็ญจพร กุลนิตย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของกลุ่มอีกจำนวน 4 คน และผู้ช่วยวิจัยของกลุ่มวิจัยจำนวน 2 คนหัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ ได้กล่าวแนะนำกลุ่มวิจัยฯ และสมาชิกในกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาหัวหน้ากลุ่มวิจัยฯ โดย ศ.ดร. ปัทมา วิตยากร แรมโบ ได้บรรยายให้หลักการและองค์ความรู้ เรื่อง หลักการปรับปรุงดินเสื่อมโทรมโดยใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการให้หลักการในการเลือกใช้วัสดุอินทรีย์ที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณสมบัติของดินเสื่อมโทรมโดยใช้องค์ประกอบทางเคมีหรือ “คุณภาพ” ของวัสดุอินทรีย์เป็นเกณฑ์ในการเลือก รวมทั้งเกณฑ์การผสมสารอินทรีย์ต่างคุณภาพเข้าด้วยกัน เพื่อให้เมื่อใส่ในดินและเกิดการย่อยสลาย จะทำให้เกิดผลในการปรับปรุงดินได้ดีขึ้น ซึ่งหลักการดังกล่าวได้พัฒนามาจากงานวิจัยพื้นฐานของกลุ่มวิจัย ซึ่งดำเนินการวิจัยด้านนี้มากว่า 20 ปี  โดยมีผู้เข้าอบรม จำนวน 180 คน ณ ห้องประชุมคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม

          การจัดอบรมของกลุ่มวิจัยฯ ในครั้งนี้ นอกจากเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับซากพืชที่มีในท้องถิ่นและวัสดุอินทรีย์อื่นในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตพืชแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายเกษตรกร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง



 
 
 
 
ภาพกิจกรรม
 
 

สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น